การลงคะแนนในเรื่องต่าง ๆ ของ การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์

การเลือกตั้ง/ลงคะแนน

มีการเลือกตั้งหลัก ๆ 3 อย่างสองอย่างแรกเป็นการเลือกตั้งรัฐสภาและฝ่ายบริหาร ที่ทำให้ประชาชนสามารถเลือกผู้แทนในรัฐบาลทั้งในระดับสหพันธรัฐ รัฐ/แคนทอน และเทศบาลการเลือกตั้งรัฐสภาให้ตำแหน่งแก่พรรคต่าง ๆ ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ได้ (proportional multi-party voting system)และการเลือกตั้งผู้บริหารเป็นการให้คะแนนเสียงแก่ผู้ลงรับเลือกตั้งโดยตรง โดยผู้ได้คะแนนมากที่สุดชนะ[13]การลงคะแนนอย่างที่สามเป็นการลงประชามติเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ

สภาประจำชาติ (สภาล่าง)

การเลือกตั้งสมาชิกของ สภาประจำชาติ (National Council of Switzerland) ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภา จะเป็นไปตามกฎระเบียบของสหพันธรัฐโดยเลือกทุก ๆ 4 ปีและครั้งสุดท้ายเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2558

ตั้งแต่การริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐโดยประชาชนในปี 2461 การเลือกตั้งได้เป็นแบบการมีผู้แทนตามสัดส่วน (proportional representation) โดยแต่ละแคนทอนจะเป็นเขตเลือกตั้ง (เยอรมัน: Wahlkreis)โดยพรรคไม่ต้องผ่านเกณฑ์สัดส่วนคะแนนต่ำสุด (election threshold) เพื่อจะได้ตำแหน่ง ตั้งแต่ปี 2514 หญิงสามารถทั้งลงคะแนนเสียงและลงสมัครรับเลือกตั้งในสภาประจำชาติได้

ตั้งแต่การปฏิรูปการทำสำมะโนประชากรและการเปลี่ยนใช้ข้อมูลประชากรของรัฐฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดจำนวนประชากรตั้งแต่ปี 2550จำนวนตำแหน่งในสภาประจำชาติจากแต่ละแคนทอน จะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้อยู่อาศัยเป็นประจำ(รวมทั้งคนที่ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง)[14]โดยมีข้อแม้ว่าแต่ละแคนทอนจะต้องได้อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง

จำนวนตำแหน่งที่ให้กับแคนทอนที่ควรได้มากกว่าหนึ่ง จะกำหนดให้แก่พรรคที่มีเศษคะแนนเหลือมากที่สุด (largest remainder method)[upper-alpha 1]ส่วนแคนทอนที่ได้ตำแหน่งเดียวในสภาแห่งชาติ ก็จะให้ตำแหน่งแก่ผู้แทนที่ได้คะแนนสูงสุด

แต่ละแคนทอนจะมีผู้แทนตามสัดส่วนคะแนนเลือกตั้งโดยวิธีที่เรียกว่า รายการเปิด (open list, free list)ประชาชนแต่ละคนสามารถลงคะแนนเป็นจำนวนเท่าที่มีตำแหน่งให้สำหรับเขตนั้น ๆ และบางครั้งสามารถให้คะแนนจนถึงสองคะแนนแก่ผู้รับเลือกตั้งคนหนึ่ง ๆ โดยคะแนนทุกคะแนนที่ให้กับผู้รับเลือกตั้ง ก็จะให้กับพรรคของผู้รับเลือกตั้งด้วยผู้ลงคะแนนยังสามารถลงคะแนนทั้งหมดที่ยังไม่ให้ผู้รับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งแก่พรรค

ในการเลือกตั้ง พรรคการเมืองจะพิมพ์รายการผู้รับเลือกตั้งจากพรรคของตน โดยแต่ละพรรคอาจจะพิมพ์หลายรายการในแต่ละรายการ จะมีจำนวนผู้รับเลือกตั้งเพียงแค่จำนวนตำแหน่งที่แคนทอน ๆ หนึ่งสามารถส่งไปยังสภาแห่งชาติผู้ลงคะแนนสามารถลงคะแนนให้ผู้รับเลือกตั้งจนถึงจำนวนที่สามารถส่งไปยังสภาแห่งชาติเช่นกันเช่น คนแคนทอนซือริคสามารถลงคะแนนให้ผู้รับเลือกตั้ง 35 คน ในขณะที่คนแคนทอนยูริจะลงคะแนนได้แค่หนึ่ง

เป็นไปได้ที่ผู้รับเลือกตั้งคนเดียวจะมีชื่ออยู่ในรายการสองครั้งอนึ่ง พรรคสามารถพิมพ์รายการหลายรายการสำหรับแคนทอน (เช่น รายการสำหรับชาย สำหรับหญิง สำหรับเยาวชน สำหรับผู้สูงอายุ และในแคนทอนใหญ่ ๆ ก็อาจจะมีรายการเฉพาะแต่ละเมืองหรือแต่ละเขต)และก็อาจเป็นไปได้ด้วยที่พรรคหลายพรรคจะรวมลงอยู่ในรายการเดียวกัน

ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกรายการของพรรคโดยไม่เปลี่ยนอะไร หรือสามารถสับเอาผู้รับสมัครของพรรคอื่นใส่เข้าในรายการดังนั้น ผู้ลงคะแนนอาจจะเลือกผู้แทนเพียงคนเดียวจากพรรค และแบ่งคะแนนให้ผู้รับเลือกตั้งจากพรรคอื่น ๆ

ตำแหน่งที่ให้แก่พรรคจะกำหนดโดยระบบ Hagenbach-Bischoff systemซึ่งพิเศษตรงที่ว่า ผู้ลงคะแนนสามารถแบ่งให้คะแนนแก่พรรคต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้แทนที่ตนชอบใจ[15]

สภาแห่งรัฐ (สภาสูง)

การเลือกตั้งสมาชิกของ สภาแห่งรัฐสวิส (Swiss Council of States) ซึ่งเป็นสภาสูงของรัฐสภา จะเป็นไปตามกฎระเบียบของแต่ละแคนทอนซึ่งไม่เหมือนกัน โดยสมาชิกจะเป็นตัวแทนของแคนทอน/รัฐแต่การเลือกตั้งก็ยังเกิดขึ้นวันเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาประจำชาติและใช้วิธีการเลือกตั้งแบบคนที่มีคะแนนเสียงเหนือกว่า (อังกฤษ: plurality voting system, เยอรมัน: Majorzwahl) โดยมากแต่รัฐซูคและรัฐอัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน จะเลือกตั้งก่อนรัฐอื่น ๆ และรัฐฌูว์ราก็เลือกตั้งสมาชิก 2 ท่านด้วยการเลือกตั้งผู้แทนตามสัดส่วน (เยอรมัน: Proporzwahl)

การเลือกตั้งระดับแคนทอน

ผู้ลงคะแนนยังสามารถเลือกตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ของรัฐบาลในแต่ละแคนทอนบัตรเลือกตั้งมีแค่ช่องเดียวสำหรับแต่ละตำแหน่ง ที่ผู้ลงคะแนนสามารถเขียนชื่อประชาชนที่ถึงนิติภาวะแล้วผู้อาศัยอยู่ในแคนทอนนั้น ๆ ไม่มีการเลือกพรรค มีแต่เลือกบุคคลโดยผู้ได้คะแนนมากสุดเป็นผู้ชนะ (เยอรมัน: Majorzwahl)แต่ก็เป็นระบบลงคะแนนสองรอบ คือในรอบแรก ผู้ที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (absolute majority) จะชนะ (เช่น ได้คะแนน 40-45% โดยมากกว่าคนอื่น ๆ 5-15%)ถ้ายังมีตำแหน่งที่ยังไม่มีใครได้ ก็จะมีการลงคะแนนรอบสองที่การได้คะแนนเสียงข้างมากปรกติก็พอแล้ว

แคนทอนทั้งหมดมีสภานิติบัญญัติเดียวที่โดยมากจะเลือกโดยการมีผู้แทนตามสัดส่วนและโดยมากมีเขตการเลือกตั้งขนาดต่าง ๆ และมีสูตรต่าง ๆ ในการคำนวณจำนวนตำแหน่งที่แต่ละพรรคจะได้ส่วนรัฐเกราบึนเดิน อัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน และอัพเพินท์เซลล์เอาส์เซอร์โรเดิน เลือกตั้งสมาชิกสภาโดยเสียงข้างมาก

การขอ/การลงประชามติต่อกฎหมาย

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: การลงประชามติโดยเลือก

ประชาชนสามารถร้องให้มีการลงประชามติต่อทั้งบทกฎหมายและบัญญัติในรัฐธรรมมนูญการขอประชามติต่อกฎหมาย (Legislative referendum) ใช้สำหรับกฎหมายที่ผ่านโดยผู้แทนฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้นโดยประชาชนไม่สามารถร่างกฎหมายเองผ่านกระบวนการนี้[16]แม้จะสามารถแก้รัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการการริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐโดยประชาชนดังจะกล่าวต่อไป[17]

ในประเด็นกฎหมายที่เสนอแต่ละเรื่อง จะมีช่องในบัตรเลือกตั้งที่ผู้ลงคะแนนสามารถกาว่า "ตกลง" หรือ "ไม่ตกลง"หรือถ้ามีข้อเสนอที่ขัดแย้งกันเอง ก็จะมีคำถามเพื่อกันการได้คะแนนเท่ากัน เช่น"ถ้าประชาชนยอมรับข้อเสนอทั้งสอง คุณชอบใจข้อเสนอใดมากกว่ากัน" (subsidiary question เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1987)เพื่อคัดค้านกฎหมายที่ผ่านรัฐสภา ประชาชนจะต้องรวบรวมลายเซ็น 50,000 รายภายใน 100 วันหลังจากที่ประกาศกฎหมายอย่างเป็นทางการถ้าได้ลายเซ็นครบ ก็จะมีการลงประชามติทั่วประเทศและถ้าประชาชนโดยมากไม่ยอมรับ กฎหมายก็จะยกเลิกไป[1]

อิทธิพลต่อการปกครอง

การคัดค้านกฎหมายได้ของประชาชนมีอิทธิพลต่อระบอบการปกครองทั้งระบบ[18]เพราะสนับสนุนให้พรรคต่าง ๆ สร้างรัฐบาลผสม เพื่อลดความเสี่ยงที่พรรคสำคัญจะขัดขวางการดำเนินงานของรัฐบาลโดยเริ่มกระบวนการขอประชามติซึ่งเพิ่มความชอบธรรมของการตัดสินใจทางการเมืองบังคับให้เจ้าหน้าที่ฟังเสียงจากประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่ประชาชนจะคัดค้านกฎหมายด้วยการขอประชามติก่อนจะเสนอกฎหมายในรัฐสภา รัฐบาลสหพันธรัฐปกติจะปรึกษากับประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อประกันว่าไม่มีกลุ่มสำคัญ ๆ ที่คัดค้านกฎหมายนั้นโดยตรง และที่มีกะใจในการเริ่มกระบวนการขอประชามติ[18]

การลงประชามติเพื่อเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ

การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญจะบังคับให้มีการลงประชามติ และต้องได้เสียงข้างมากจากทั้งประชาชนและจากแคนทอนต่าง ๆ การเสนอเปลี่ยนรัฐธรรมนูญอาจมาจากรัฐสภา หรือเมื่อประชาชน 100,000 เซ็น การริเริ่มเปลี่ยนรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐโดยประชาชน (federal popular initiative)[19]

การได้เสียงข้างมากไม่ใช่ต้องมาจากประชาชนเท่านั้น แต่ต้องได้จากแคนทอนด้วย แคนทอนแต่ละแคนทอนมีเสียงหนึ่งคะแนน แม้ก็มีแคนทอนที่มีเสียงครึ่งคะแนนด้วย (เพราะเป็นแคนทอนที่แบ่งออกจากกันเมื่อหลายศตวรรษก่อน)[3]การลงคะแนนของแคนทอนจะขึ้นอยู่กับการลงคะแนนของประชาชนในแคนทอนนั้นถ้าประชาชนข้างมากสนับสนุนข้อเสนอ แคนทอนทั้งแคนทอนก็จะลงคะแนนตามนั้น

การได้สิทธิลงคะแนนของแคนทอนหมายความว่า แคนทอนเล็ก ๆ ก็จะมีอิทธิพลเท่ากับแคนทอนใหญ่ยกตัวอย่างเช่น แคนทอนบาเซิล-ลันท์ชัฟท์มีประชากร 256,000 คนแต่มีคะแนนครึ่งเดียว โดยคะแนนอีกครึ่งอยู่กับแคนทอนบาเซิล-ชตัดท์เทียบกับแคนทอนอูรีที่มีหนึ่งคะแนน แต่มีประชากรเพียงแค่ 35,000 คน

มีการลงประชามติ 550 ครั้งตั้งแต่เริ่มใช้รัฐธรรมมนูญปี ค.ศ. 1848 ไม่ว่าจะในเรื่องบทกฎหมายหรือบทรัฐธรรมนูญ[20]

ใกล้เคียง

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย การลงจอด การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 การลงคะแนนแบบจัดลำดับ การลงประชามติแยกเป็นเอกราช การลงประชามติประมวลกฎหมายครอบครัวคิวบา พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ http://www.bfs.admin.ch/bfs/portal/de/index/themen... http://www.admin.ch http://www.admin.ch/ch/f/pore/vi/vi320.html http://www.ch.ch/abstimmungen_und_wahlen/01277/012... http://www.ch.ch/abstimmungen_und_wahlen/01277/012... http://www.parliament.ch http://www.swissinfo.ch/directdemocracy/schaffhaus... http://www.swissinfo.ch/eng/politics/2015-election... http://www.swissvotes.ch/votes/?listmod=list http://www.slatkine.com/fr/editions-slatkine/69072...